Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно ลงคลิป short ทุกวันแต่วิวไม่ขึ้น ลองใช้สูตรนี้ดู или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
🚀อยากมีรายได้จาก Youtube? ผมให้คำปรึกษาส่วนตัวฟรีครับ คลิกที่นี่ http://line.me/R/ti/p/@sekyoutube ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยสนับสนุนช่องในการแบ่งปันความรู้ https://buymeacoffee.com/seksun สมัครใช้งานแอป Canva https://partner.canva.com/VyA5aA รวมเทคนิคเปลี่ยน “คลิปธรรมดา” ให้ปังด้วยกลยุทธ์จูงใจแบบมืออาชีพ หลายคนที่ทำคลิปช็อตลง YouTube สม่ำเสมอ อาจรู้สึกเหนื่อยใจเพราะยอดวิวไม่ขึ้น ทั้งที่พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหาอาจไม่ใช่ “ความถี่” แต่เป็น “วิธีเล่าเรื่อง” ที่ยังไม่น่าดึงดูดพอ วันนี้เราจะพาไปดูเทคนิคการทำคลิปช็อตให้ปัง ด้วยแนวคิดใหม่ที่ใช้ได้จริง พร้อมตัวอย่างแนวทางหลากหลายให้ลองใช้กันครับ 1. เปลี่ยนจาก “บอกความรู้ตรงๆ” เป็น “ชวนสงสัย + รอลุ้น” ผิด: วันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าเมล็ดเจียดีอย่างไร ถูก: จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผมกินเมล็ดเจียทุกวันต่อเนื่อง 30 วัน!? ขี้จะราดไหม!? การเล่าแบบแรกคือการบอกตรง ๆ คนฟังมาเยอะแล้วจนรู้สึกเบื่อ แต่การตั้งคำถามที่น่าสงสัย เช่น “ขี้จะราดไหม” เป็นการใส่อารมณ์ขันแบบไม่คาดคิด คนดูจะอยากรู้ตอนจบและดูจนจบคลิปโดยไม่รู้ตัว 2. เทคนิค "เหลือเชื่อ + ท้าทาย" ผิด: มาดูเทคนิควิดพื้นที่ถูกต้องกันครับ ถูก: ผมเคยวิดพื้นแพ้เด็ก ป.6 เด็กมีเคล็ดลับอะไร!? เดี๋ยวเล่าให้ฟัง นี่คือการใช้ “ความเหลือเชื่อ” ดึงความสนใจคนดู เทคนิคคือเอา “ผลลัพธ์” ที่ไม่คาดคิดมาเล่าแบบสั้น ๆ คนจะอยากรู้ว่า “เฮ้ย! ทำไมถึงแพ้เด็ก?” แล้วตามดูต่อทันที 3. แนวเล่าเรื่องแบบมี “อารมณ์ย้อนแย้ง” ผิด: วันนี้จะพาไปดูชีวิตยูทูบเบอร์ครับ ถูก: หนึ่งวันของยูทูบเบอร์วัยเกือบห้าสิบที่ยังไม่หยุดฝัน ในยุคที่ทุกคนอยากประสบความสำเร็จเร็ว คำว่า “เกือบห้าสิบแล้วยังสู้” คืออารมณ์ที่ย้อนแย้งกับภาพความสำเร็จทั่วไป และนั่นคือสิ่งที่กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของคนดูได้ดีมาก 4. สรุปเร็ว ใช้เวลาเป็นจุดขาย ผิด: สรุปดราม่านักร้องชื่อดังที่แอบคบซ้อนครับ ถูก: ดราม่านักร้องดังชื่อย่อตัว ต. แอบกิ๊กแฟนชาวบ้าน! สรุปใน 3 นาที การบอกเวลาชัดเจนว่า “ใช้เวลาแค่ 3 นาที” ทำให้คนรู้สึกว่าไม่เสียเวลา แถมรู้เรื่องเร็ว ยิ่งคลิปช็อตที่แข่งกับความสนใจคนแบบวินาทีต่อวินาที ยิ่งต้องใช้กลยุทธ์นี้บ่อย ๆ 5. ใช้เรื่องเงินเป็นตัวกระตุ้น ผิด: วิธีซ่อมก๊อกน้ำเบื้องต้น ถูก: ยอมเสียเวลา 3 นาทีดูคลิปซ่อมก๊อกน้ำ หรือจะยอมเสียเงิน 500 บาทดีล่ะ? แค่พูดถึงตัวเงิน คนดูจะตั้งใจฟังมากขึ้น เพราะรู้สึกว่าเป็นเรื่อง “มีผลกับกระเป๋าสตางค์” ทันที ลองใส่ตัวเลขเข้าไปในชื่อคลิปหรือเนื้อหา จะเห็นผลชัดเจน 6. แนะนำสินค้า/บริการยังไงให้ไม่ Hard Sell ผิด: ผมมีอีบุ๊กขายเกี่ยวกับ YouTube ครับ ถูก: ถ้าไม่อยากเสียเวลา “ลองผิดลองถูก” กับ YouTube ลองดูอีบุ๊กนี้ที่สรุปจากประสบการณ์ 15 ปี พร้อมแถมอีบุ๊กสอนหาเงินด้วย AI ฟรี เคล็ดลับคืออย่าขายตรง ๆ แต่ให้ขายด้วย “ความช่วยเหลือ” เช่น ลดเวลา ลดความเสี่ยง เพิ่มโอกาส พร้อมใช้ “ของแถม” เป็นแรงจูงใจประกอบ 7. ใช้ความน่ารักของสัตว์เลี้ยงผสมดราม่าเล็ก ๆ ผิด: ดูสิครับพี่แบดแมนน่ารักไหม ถูก: พี่แบดเดินได้คล่องมากเลย ทั้งที่เขาตาบอดนะครับ การดึงอารมณ์คนดูด้วยการเล่าจุดด้อยของสัตว์เลี้ยง และตามด้วยการโชว์ความสามารถหรือความน่ารัก เป็นการเล่าเรื่องที่สร้างพลังใจ พร้อมกับทำให้คนรักน้องหมาแมวยิ่งขึ้น 8. แนวเกษตร เล่าแบบธรรมดาไม่น่าดู แต่ถ้ามีปัญหาชีวิตมาดึง... ปังแน่ ผิด: มาฟังผมเล่าประสบการณ์ปลูกต้นไม้ขายครับ ถูก: ก่อนมาเป็นเกษตรกร ผมเคยตกงาน 3 ปี ไม่มีเงินเลย แต่สุดท้ายปลดหนี้ได้ด้วยต้นไม้ นี่คือการใส่พล็อตชีวิตลงไป คนดูจะรู้สึกว่านี่ไม่ใช่แค่ “เคล็ดลับปลูกต้นไม้” แต่นี่คือ “บทเรียนชีวิต” ที่พวกเขาอยากรู้ 9. เอาประสบการณ์จริงใส่ในคลิปแนวให้ความรู้ ผิด: วันนี้จะมาสอนวิธีปั่นจักรยานให้ปลอดภัยครับ ถูก: ผมเคยโดนมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวตอนปั่นจักรยานมาแล้ว! เดี๋ยวมาเล่าว่ารอดได้ยังไง ประสบการณ์จริงมีพลังมากกว่าทฤษฎีเสมอ โดยเฉพาะเมื่อคนดูรู้ว่า “เขารอดมาแล้ว” จะยิ่งฟังต่อเพื่อป้องกันตัวเองเช่นกัน 10. แนวรีวิวสินค้า: อย่าบอกตรง ๆ ว่าจะรีวิว ผิด: วันนี้จะมารีวิวมือถือรุ่นใหม่ครับ ถูก: รู้ไหมว่ามือถือรุ่นนี้มี AI ในตัว แถมใช้ฟรีด้วยนะ!? เปิดด้วย “คุณรู้ไหมว่า...” แล้วตามด้วยฟีเจอร์เด็ด เป็นเทคนิคที่ทำให้คลิปรีวิวดูน่าสนใจทันที เพราะคนจะรู้สึกว่าได้ “ความลับ” หรือ “ของใหม่” ก่อนใคร 11. กลับมาที่สัตว์เลี้ยงอีกรอบ แต่เปลี่ยนมุมให้ฉีกกว่าเดิม ผิด: ระวังอย่าให้สุนัขโดนยุงกัด เดี๋ยวจะเป็นพยาธิหนอนหัวใจ ถูก: ถ้าผมเป็นหมา แล้วต้องนอนหน้าบ้านตอนกลางคืนให้ยุงกัด จะเป็นยังไงนะ...? นี่คือการ “สวมบทบาท” เล่นเป็นสุนัขจริง ๆ เพื่อให้คนดูอินมากขึ้น และเปลี่ยนมุมคิดจากแบบ “ให้ความรู้” เป็น “เล่าเรื่องดราม่าผ่านมุมมองใหม่” 12. ปิดท้ายด้วยแรงบันดาลใจ ธรรมชาติสร้างอุปสรรคขึ้นมาเพื่อให้เรารู้จักการต่อสู้ การล้มไม่ใช่เรื่องผิด แต่เราต้องลุกให้ได้ จุดเด่นของคลิปที่ดี ไม่ใช่แค่เนื้อหาให้ความรู้ แต่ต้องมีพลังใจมอบให้คนดูท้ายคลิปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มที่กำลัง “เริ่มต้นใหม่” หรือเจอปัญหาในเส้นทาง YouTube อุปกรณ์ที่ผมใช้ทำวิดีโอ https://bit.ly/43S9PYA 1. ไมค์ไร้สาย J11 ใช้กับมือถือได้ทุกรุ่นครับ ^^ ซื้อแบบ 2 ตัวเลยครับ J12 คู่ จะได้เอาไว้พูดได้ 2 คน และเผื่อเป็นตัวสำรองด้วย 2. ไฟเอาไว้ถ่ายคลิป ให้ภาพมีสีสันสดใส เป็นแบบ LED ประหยัดไฟ ไม่แสบตา ปรับมุมได้ ปรับความสว่างได้ 3. ไมค์ใช้สำหรับการทำคลิปสอนผ่านคอมพิวเตอร์ ที่ตัดเสียงรบกวนได้ดีมาก เสียบปุ๊บ ใช้งานได้เลย ผมแนะนำยี่ห้อนี้ครับ 4. กล้อง Web cam สำหรับครูอาจารย์ ที่ทำคลิปสอนผ่าน Notebook ภาพสวยคมชัด สอนด้วยความมั่นใจ 5. ไม้กันสั่น สำหรับสาย vlog ท่องเที่ยว เวลาเดินถ่ายภาพจะได้ไม่สั่น เราจะสู้ไปด้วยกัน เสกสรร ปั้น Youtube