Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно อาสยานุสยญาณนิทเทส (ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์) | แสดงอาสยานุสยญาณ | พุทธญาณ или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
#ญาณของพระพุทธเจ้า #อนุสัย #จริต อาสยานุสยญาณนิทเทส แสดงอาสยานุสยญาณ พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๓๑ ข้อ ๑๑๓ - ๑๑๕ ความยาววีดิทัศน์ : 11:03 นาที ---------- ญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ของพระตถาคต เป็นอย่างไร คือ ในญาณนี้ พระตถาคตทรงทราบอาสยะของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบจริตของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบอธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย ทรงทราบชัดภัพพสัตว์ (สัตว์ที่ควรบรรลุธรรมในภพนี้) และอภัพพสัตว์ (สัตว์ที่ไม่ควรบรรลุธรรมในภพนี้) อาสยะของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ความเห็นว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มีไม่เกิดอีกก็มี หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกก็มิใช่ไม่เกิดอีกก็มิใช่ สัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยภวทิฏฐิหรือวิภวทิฏฐิดังกล่าวมานี้ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เข้าไปอาศัยที่สุดทั้ง ๒ นี้ ได้อนุโลมขันติในสภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยของกันและกันและอาศัยกันและกันเกิดขึ้น หรือยถาภูตญาณ ๓ พระตถาคตย่อมทรงทราบบุคคลผู้เสพกามว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในกาม มีกาม เป็นที่อาศัย น้อมไปในกาม” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติเนกขัมมะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในเนกขัมมะ มีเนกขัมมะเป็นที่อาศัย น้อมไปในเนกขัมมะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในพยาบาท มีพยาบาทเป็นที่อาศัยน้อมไปในพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอพยาบาทว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในอพยาบาท มีอพยาบาทเป็นที่อาศัย น้อมไปในอพยาบาท” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งถีนมิทธะว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในถีนมิทธะ มีถีนมิทธะเป็นที่อาศัย น้อมไปในถีนมิทธะ” ทรงทราบบุคคลผู้ปฏิบัติซึ่งอาโลกสัญญาว่า “บุคคลนี้เป็นผู้หนักในอาโลกสัญญา มีอาโลกสัญญาเป็นที่อาศัย น้อมไปในอาโลกสัญญา” นี้เป็นฉันทะที่มานอนเนื่องของสัตว์ทั้งหลาย อนุสัย (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ อนุสัย ๗ ได้แก่ ๑. กามราคานุสัย ๒. ปฏิฆานุสัย ๓. มานานุสัย ๔. ทิฏฐานุสัย ๕. วิจิกิจฉานุสัย ๖. ภวราคานุสัย ๗. อวิชชานุสัย กามราคานุสัยย่อมนอนเนื่องในปิยรูป (อารมณ์อันเป็นที่รัก) สาตรูป (อารมณ์อันเป็นที่ยินดี) ในโลก ปฏิฆานุสัยย่อมนอนเนื่องในอัปปิยรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่รัก) อสาตรูป (อารมณ์อันไม่เป็นที่ยินดี) ในโลก อวิชชาตกไปในสภาวธรรม ๒ นี้ ด้วยอาการอย่างนี้ มานะ ทิฏฐิ และวิจิกิจฉาพึงเห็น ว่า ตั้งอยู่ในฐานะแห่งเดียวกันกับอวิชชานั้น นี้ชื่อว่าอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย จริตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ ปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี) อปุญญาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว) อาเนญชาภิสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคงไม่หวั่นไหว)ที่เป็นกามาวจรภูมิ หรือที่เป็นรูปาวจรภูมิ และอรูปาวจรภูมิ นี้ชื่อว่าจริตของสัตว์ทั้งหลาย อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอย่างไร คือ สัตว์ทั้งหลายมีอธิมุตติทรามก็มี มีอธิมุตติประณีตก็มี สัตว์ทั้งหลายที่มีอธิมุตติทราม ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน แม้ในอดีตกาล ในอนาคตกาล สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติทราม ก็คบหาสมาคมเข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติทรามเหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายผู้มีอธิมุตติประณีต ย่อมคบหาสมาคม เข้าไปนั่งใกล้สัตว์ผู้มีอธิมุตติประณีตเหมือนกัน อภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบากเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีฉันทะ มีปัญญาทราม ไม่อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าอภัพพสัตว์ ภัพพสัตว์ เป็นอย่างไร คือ สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมเป็นเครื่องกั้น คือ กรรม กิเลส วิบากเป็นผู้มีศรัทธา มีฉันทะ มีปัญญาดี อาจเข้าสู่สัมมัตตนิยามในกุศลธรรมทั้งหลาย เหล่านี้ชื่อว่าภัพพสัตว์ นี้เป็นญาณในอาสยะและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลายของพระตถาคต 🙏 กดติดตามมูลนิธิอุทยานธรรม http://bit.ly/2VRwhuZ 🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸 มูลนิธิอุทยานธรรมสร้างและเผยแผ่พระไตรปิฎกเสียงสมจริงและวีดิทัศน์ต่าง ๆ เป็นธรรมทานแก่ทุกสรรพจิตในสากลโลก เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ถวายแด่พระศาสนา ท่านที่ประสงค์จะเผยแผ่สื่อธรรมต่อเป็นธรรมทาน สามารถเผยแผ่ได้ตามประสงค์โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใด เพียงกรุณาอ้างถึงที่มา (มูลนิธิอุทยานธรรม) ตามหลักสากล เพื่อความเจริญงอกงามและประโยชน์สุขของผู้เผยแผ่เองทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า หากท่านผู้ใดประสงค์จะเผยแผ่เพื่อประโยชน์ตนหรือประโยชน์ทางการค้า มูลนิธิฯ ขอสงวนสิทธิ์โดยชอบตามกฎแห่งกรรมและกฎแห่งธรรม 🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸🔸 มูลนิธิอุทยานธรรม Website : http://www.uttayarndham.org Facebook : / uttayarndham Line @ : @uttayarndham หรือ http://line.me/ti/p/@uttayarndham