Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ycliper.com Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно ความปราชัยของเจ้าอนุวงศ์ [ตอนที่2] สงครามเจ้าอนุวงศ์ สมัย รัชกาลที่ 3 или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
สงครามเจ้าอนุวงศ์ เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2369-71 ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (2367-94) เป็นประวัติศาสตร์ตอนที่สำคัญมากทั้งในประวัติศาสตร์ไทยและในประวัติศาสตร์ลาว ในประวัติศาสตร์ไทยบันทึกว่าสงครามครั้งนี้เป็นสงครามของพวกกบฏ หัวหน้ากบฏคือเจ้าอนุวงศ์เป็นคนไม่ดี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรง Promote เจ้าอนุวงศ์ที่ทูลขอให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งตั้งเจ้าราชบุตร (โย่) ของเจ้าอนุวงศ์ขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ เพราะเชื่อในความจงรักภักดีในเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเคยช่วยไทยรบกับพม่ามาหลายครั้ง แต่เมื่อเจ้าอนุวงศ์ทรงเป็นกบฏในต้นรัชกาลที่ 3 พระองค์จึงทรงแค้นพระทัยมากทรงสั่งให้ทำลายเวียงจันทน์มิให้เป็นเมืองอีกต่อไป ความประมาทของฝ่ายเวียงจันทน์ในกรณีอพยพชาวโคราชทำให้เกิดการลุกฮือของชาวโคราชที่ทุ่งสำริด โจมตีทหารที่คุมมาตายเกือบหมด และทหารที่ส่งมาปราบก็ถูกโจมตีแตกกลับไปถึง 2 ครั้ง มีทหารฝ่ายเวียงจันทน์ตายในการสู้รบประมาณ 1,200-3,000 คน เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของฝ่ายเวียงจันทน์ น่าจะส่งผลให้ความมั่นใจในตัวเองและขวัญของฝ่ายนี้ลดลง เพราะชาวโคราชกลุ่มนี้เกือบทั้งหมดเป็นชาวบ้านไม่ใช่ทหารยังรบแพ้ ถ้ารบกับกองทหารไทยที่อาวุธเพียบพร้อมจะขนาดไหน การรบครั้งนั้นเป็นผลให้คุณหญิงโม ผู้นำการรบคนหนึ่งได้รับการยกย่องเป็นท้าวสุรนารี วีรสตรีของไทย อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว นอกจากนี้น่าจะมีผลให้จำนวนสัดส่วนของทหารที่ควบคุมผู้อพยพสูงขึ้นในเวลาต่อมา เพราะจำนวนทหารที่ควบคุมขบวนผู้อพยพ 18,000 คน มีเพียง 200 คน หรืออัตราส่วนทหาร 1 คน ต่อผู้อพยพ 90 คน ซึ่งน้อยเกินไปจนเกิดความพ่ายแพ้ที่ทุ่งสำริด ซึ่งฝ่ายเวียงจันทน์ต้องจำไปนานแสนนาน [35] กล่าวโดยสรุปความปราชัยของเจ้าอนุวงศ์เกิดจากการประเมินกำลังพันธมิตรผิดพลาดเป็นอย่างมาก เพราะลำพังกำลังทหารฝ่ายเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์ ก็มิอาจสู้กำลังทหารฝ่ายไทยอยู่แล้ว เจ้าอนุวงศ์ทรงฝากความหวังไว้กับอังกฤษ ซึ่งมิได้เป็นพันธมิตรโดยตรงของพระองค์ แต่เป็นพันธมิตรทางอ้อม หากอังกฤษโจมตีปากน้ำเจ้าพระยา ไทยจะต้องแบ่งกำลังส่วนใหญ่เอาไว้ต้านอังกฤษ นอกจากนี้เจ้าอนุวงศ์ยังทรงฝากความหวังไว้กับญวนว่าจะเข้าโจมตีทางปากน้ำเช่นกัน แต่ทั้งอังกฤษและญวนมิได้โจมตีไทยดังที่คาดไว้ ทำให้ไทยทุ่มกำลังส่วนใหญ่มาทางอีสาน เจ้าอนุวงศ์ยังทรงฝากความหวังไว้กับหลวงพระบางและหัวเมืองล้านนาทั้งห้า หวังว่าจะช่วยพระองค์ตีไทยทางด้านเหนือ แต่ความเป็นจริงตรงกันข้าม หัวเมืองทั้งหกยกทัพมุ่งไปที่เวียงจันทน์ การถูกเจ้าเมืองอีสานหลายเมืองต่อต้าน จนต้องประหารชีวิตเจ้าเมืองถึง 6 เมือง ล้วนแต่มีผลในทางลบอย่างยิ่งต่อเจ้าอนุวงศ์ ส่วนปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้พระองค์ทรงปราชัย ก็คือปริมาณอาวุธที่ทันสมัย เช่น ปืนคาบศิลาซึ่งเป็นอาวุธยาว ทหารฝ่ายไทยมีมากกว่า แม้อาวุธพื้นฐานคือหอก ดาบ ทหารส่วนหนึ่งของฝ่ายเวียงจันทน์ก็ไม่มี มีแต่กระบองและไม้ไผ่เสี้ยมปลายแหลม การกวาดต้อนประชากรอีสานกลับไปเวียงจันทน์-จำปาศักดิ์เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความทุกข์ยากต่อคนเหล่านี้จนหลายเมืองเกิดการต่อต้าน โดยเฉพาะการต่อต้านของชาวเมืองโคราช แล้วทหารฝ่ายเวียงจันทน์ปราบไม่ได้ทำให้ขวัญกำลังฝ่ายเวียงจันทน์ตกต่ำ และต้องนำทหารที่ต้องใช้รบมาคุมเชลยที่เหลือมากขึ้น ทำให้ทหารที่ใช้รบของฝ่ายเวียงจันทน์ลดลง ปัจจัยเหล่านี้มีส่วนทำให้เจ้าอนุวงศ์ทรงปราชัยในสงครามกู้ชาติครั้งนั้น เรื่องเล่าจากบันทึก เล่าเรื่องต่างๆที่มีสาระและน่าสนใจ ประวัติศาสตร์ ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ รวมถึงธรรมะคำสอนต่างๆ