Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно Curiosity Special EP01 : งานวิจัยพัฒนา AI เพื่อทำนายความแข็งของคริสตัล โดย อ. ดร. ธิปรัชต์ โชติบุตร или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
เมื่อไม่กี่วันก่อน ผมได้พูดคุยกับ อาจารย์ ดร. ธิปรัชต์ โชติบุตร (ธิป) อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับเนื้อหาฟิสิกส์ที่จะเอามาทำคอนเทนต์ ก็ได้คุยกันหลายอย่าง แล้วผมก็เห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยเก่งๆ ก็มีเยอะ ผลงานดีๆ มีมากมาย แต่เราไม่ค่อยรู้จักกันว่าตอนนี้มีใครทำอะไรอยู่บ้าง ก็เลยเป็นที่มาของไอเดียรายการนี้ ที่ผมก็ยังไม่ได้ตั้งชื่อรายการ แต่จะเป็นรายการที่จะไปพูดคุยกับ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ให้เขาเล่าหน่อยว่าพวกเขาทำอะไรกัน รวมถึง อาชีพต่างๆ ที่ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในการทำงาน อย่าง เช่น แพทย์ หรือวิศวะ เพื่อให้เขาเล่าให้ฟังหน่อยว่า ได้ใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อะไรในการทำงานบ้าง และเริ่มแรกเลย ก็เป็นการคุยกับ อาจารย์ธิป นั่นแหละครับ ซึ่งตอนนี้ อาจารย์ก็เป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยที่ชื่อว่า Chula Intelligent & Complex Systems ที่ทำงานวิจัยเกี่ยวกับความฉลาด ทั้งฉลาดแท้อย่างสมอง และฉลาดเทียมอย่างปัญญาประดิษฐ์ และ ระบบที่ซับซ้อนต่างๆ ตามชื่อ Intelligent & Complex Systems เลยครับ ในตอนแรกนี้ ผมเลยขอให้อาจารย์เล่าเรื่องเกี่ยวกับงานวิจัยที่ทำอยู่ ที่ชื่อยาวๆ อันนี้ ที่เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับ การใช้ AI หรือปัญญาประดิษฐ์ ในการวิเคราะห์สถานะควอนตัมของโครงสร้างคริสตอล สปอยเนื้อหาวันนี้เลย ก็คือ การคำนวณคุณสมบัติของวัสดุ ในระดับควอนตัม มันยากมาก สมการมันซับซ้อนวุ่นวาย แม้แต่ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ยังอาจต้องใช้เวลาคำนวณหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน อ.ธิปรัชต์ และทีมงานอีกสองท่าน อาจารย์อรรณพ และ อาจารย์ธีรโชติ เลยจะพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาคำนวณ หรือทำนายคุณสมบัติของวัตถุจากการคำนวณในระดับควอนตัมนี้แทน เรียกว่าได้ว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ ศึกษาศาสตร์ทั้งด้านปัญญาประดิษฐ์ และกลศาสตร์ควอนตัม แล้วเอามาบูรณาการกัน ก็มีไม่กี่คนในประเทศไทย อ.ธิปรัชต์ ก็เป็นหนึ่งในแนวหน้าของประเทศไทยในเรื่องนี้เลยครับ แล้วอาจารย์ก็จะมาเล่าเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ให้ฟังกครับ อารมณ์ก็จะต่างจากคลิปปรกติของผมอยู่สักหน่อย ผมอยากให้อาจารย์ได้เล่าเต็มที่ในเนื้อหาที่อยากนำเสนอ ให้เราได้รู้ว่านักวิจัยไทยทำอะไรกันบ้าง ก็จะมียาวบ้าง ยากบ้าง ใครสนใจก็ลองฟังกันดูครับ งานวิจัยที่มี Buzzword แห่งยุคนี้เลย ทั้ง AI ทั้ง ควอนตัม ผมก็อยากรู้เหมือนกันว่างานวิจัยนี้เป็นยังไง ก็จะค่อยๆ รู้ไปพร้อมกับเพื่อนๆ นี่แหละครับ การถ่ายนี้อุปกรณ์ผมไม่ค่อยพร้อมเท่าไหร่ ทั้งภาพและเสียงก็จะแปลกๆหน่อย ก็ขออภัยด้วยนะครับ