Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно เพลงดีที่บ้านบาตร 037 / ไส้พระจันทร์ เถา วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ศิษย์หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
เพลงดีที่บ้านบาตร ผลงานเพลงของ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เพลง ไส้พระจันทร์ เถา บรรเลงโดย วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ขับร้องโดย สุคนธ์ พุ่มทอง บันทึกเสียง วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2512 รหัสเทปต้นฉบับ 4117 ดร.เดวิด มอร์ตัน Dr.David Morton (พ.ศ. 2463-2547; ค.ศ.1920-2004) นักดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ (Ethnomusicologist) ชาวอเมริกัน เกิดที่เมืองทาโคมา รัฐวอชิงตัน เมื่อ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2463 ถึงแก่กรรมที่เมืองทูซอน รัฐแอริโซนาเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2547 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาศิลปะการละครที่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอกในสาขาดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ Ethnomusicology ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส UCLA มีความสามารถในการประพันธ์เพลงสมัยนิยม สนใจศึกษาดนตรีไทย ดนตรีราชสำนักญี่ปุ่น และดนตรีอินโดนีเซีย ในช่วงปี พ.ศ.2502-2503 เขาได้รับการแนะนำจากศาสตราจารย์แมนเทิล ฮูด (Prof.Dr.Mantle Hood) ให้เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อเก็บข้อมูลประกอบการเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง “The Traditional Music of Thailand” โดยทุนของมูลนิธิรอคกีเฟลเลอร์ ได้ศึกษาข้อมูลเชิงลึกทั้งบทเพลงไทย เครื่องดนตรีไทย วงดนตรีไทย จนถึงศิลปินดนตรีไทย และทำการบันทึกเสียงเพลงจากสำนักดนตรีบ้านบาตรซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดผ่านสายวิชาท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) จำนวนมาก หลังจากที่เขาจบการศึกษาปริญญาเอก ดร.เดวิด มอร์ตัน ได้ทำงานเป็นอาจารย์อยู่ที่ UCLA ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 และต่อมาดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ มีผลงานทางวิชาการมากมาย ทั้งด้านตำราความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับดนตรีไทยซึ่งพัฒนาจากงานวิทยานิพนธ์ของตน, ตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการต่างๆจนถึงสารานุกรมดนตรีของโลก Grove Dictionary of Music, ผลิตแผ่นเสียงจากต้นฉบับบันทึกภาคสนาม, ภาพถ่าย, ภาพยนตร์สารคดีสั้น, งานวิเคราะห์โน้ตเพลงไทยจากไมโครฟิล์มที่บันทึกโดยราชบัณฑิตยสภา, งานแปลหนังสือเครื่องดนตรีไทยของนายธนิต อยู่โพธิ์ เป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังได้ทำการซื้อเครื่องดนตรีไทยสำคัญจำนวนมากจากสำนักดนตรีหลวงประดิษฐไพเราะฯ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนภาคปฏิบัติใน UCLA จนถึงทุกวันนี้ ถือเป็นนักวิชาการมานุษยวิทยาดนตรีอเมริกันที่ทำให้โลกการศึกษาได้มีส่วนเรียนรู้ความสำคัญของดนตรีไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ ในปี พ.ศ.2512 ดร.เดวิด มอร์ตัน ได้รับการติดต่อจากอาจารย์ประสิทธิ์ ศิลปบรรเลง ให้กลับมาประเทศไทยเพื่อทำการบันทึกเสียงครั้งสำคัญ ซึ่งถือเป็นวาระสุดท้ายก่อนที่สำนักดนตรีไทยบ้านบาตรของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯจะปิดตัวลงและมีการรื้อถอนตัวอาคารเรือนออกไปจากพื้นที่ บรรดาทายาทและศิษย์ดนตรีไทยในสำนักจึงได้พร้อมใจกันฝากผลงานการบรรเลงและขับร้องบทเพลงที่เคยได้รับการถ่ายทอดความรู้โดยตรงจากท่านครูฯ ควบคุมการบรรเลงโดยคุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง งานบันทึกเสียงครั้งนี้ ถือเป็นประวัติศาสตร์การบันทึกเสียงในบ้านนักดนตรีไทยครั้งใหญ่ที่สุด กินเวลายาวนานถึง 4 เดือน (กันยายน2512-ต้นมกราคม2513) ดร.เดวิด มอร์ตันได้นำอุปกรณ์การบันทึกเสียงและเทปรีลอย่างดี เดินทางจากสหรัฐอเมริกามายังประเทศไทย สนับสนุนการเดินทางโดย the American Council of Learned Societies เขาทำหน้าที่วิศวกรเสียงบันทึกด้วยตนเอง โดยลงลายมือบัญชีชื่อเพลงสองภาษา ชื่อผู้บรรเลง เครื่องดนตรี วงดนตรี แม้แต่ระยะเวลาของเพลงแต่ละเพลงแต่ละเทคเอาไว้อย่างละเอียด เทปรีลทั้งหมดเก็บรักษาไว้อย่างดีที่หอจดหมายเหตุดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์ยูซีแอลเอ UCLA Ethnomusicology Archive ชื่อเพลงที่ปรากฏในงานบันทึกของ ดร.เดวิด มอร์ตัน อาทิ เชิดใน เชิดนอก กราวใน ทยอยเดี่ยว พม่าห้าท่อน เขมรราชบุรี แสนคำนึง อาหนู ลาวเสี่ยงเทียน เพลงมอญต่างๆ ฯลฯ บรรเลงโดย ศ.ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ (ซอด้วง-ซอสามสาย), ครูโองการ กลีบชื่น (ระนาดทุ้ม), ครูเทียบ คงลายทอง (ปี่), ครูสมบัติ เดชบรรลือ (ปี่), ครูบาง หลวงสุนทร (ปี่), ครูเสนาะ หลวงสุนทร (ระนาดเอก), ครูประสิทธิ์ ถาวร (ระนาดเอกสองราง), ครูบุญยงค์ เกตุคง (ระนาดเอก), ครูอุทัย แก้วละเอียด (ระนาดเอก), ครูเมธา หมู่เย็น (ระนาด), ครูแสวง บ้านคลัง (ระนาดเอก), ครูประเสริฐ สดแสงจันทร์ (ระนาด), ครูสุบิน จันทร์แก้ว (ฆ้องวงใหญ่), ครูหยด ผลเกิด (ฆ้องวงใหญ่), ครูน้ำว้า ร่มโพธิ์ทอง (ฆ้องวงใหญ่), ครูสมภพ ขำประเสริฐ (ฆ้องวงใหญ่), ครูฉลาก โพธิ์สามต้น (ฆ้องวงเล็ก), ครูชุบ ราศรีคง (ฆ้องวงเล็ก), ครูประชิต ขำประเสริฐ (ขับร้อง), ครูสุคนธ์ พุ่มทอง (ขับร้อง), ครูศิริกุล วรบุตร (ขับร้อง), ครูนิคม สาคริก (เครื่องหนัง) ฯลฯ ซึ่งผู้ร่วมงานบันทึกเสียงเหล่านี้ ต่อมาได้ประสบความสำเร็จในชีวิตในฐานะศิลปินแห่งชาติ ครูดนตรีที่มีชื่อเสียง เป็นต้นแบบความรู้ในสังคมไทย หลายท่านถึงแก่กรรมไปแล้วแต่ยังเป็นที่จดจำอยู่ในฐานะครูบาอาจารย์สำคัญที่มีผู้สืบทอดความรู้มากมาย วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม 2559 ทายาท และบรรดาศิษยานุศิษย์ของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะฯ ได้ต้อนรับคณะนักวิชาการดนตรีจากภาควิชาดุริยางคศาสตร์ชาติพันธุ์แห่ง UCLA สหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย ศ.ดร. เฮเลน รีส์ Prof.Dr.Helen Rees , นายแอรอน บิตเทล Mr.Aaron Bittel นักวิจัย, ดร.สุพีนา อินทรีย์ แอดเลอร์ อาจารย์ดนตรีไทย, ศ.ดร.คริสโตเฟอร์ แอดเลอร์ Prof.Dr.Christopher Adler แห่งภาควิชาการประพันธ์เพลง มหาวิทยาลัยซานดิเอโก ร่วมกันนำงานบันทึกเสียงต้นฉบับของ ดร.เดวิด มอร์ตัน ซึ่งแปลงสัญญานเสียงอนาล็อคมาเป็นดิจิตอลอย่างสมบูรณ์แบบ มามอบให้แก่มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะฯ เพื่อทำประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและเผยแพร่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป อานันท์ นาคคง เรียบเรียงข้อมูล #หลวงประดิษฐไพเราะ #ศรทอง #144ปีหลวงประดิษฐไพเราะ #เรือนบรรเลง #มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ #บ้านบาตร #ปี่พาทย์