Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно ชัวร์ก่อนแชร์ : ข้อความเกี่ยวกับความหนืดน้ำมันเครื่อง จริงหรือ ? или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความแนะนำผู้ใช้รถยนต์เกี่ยวกับความสำคัญของความหนืดในน้ำมันเครื่องแต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้เป็นอย่างไร ติดตามกับ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์ ----------------------------------------------------- 📌 สรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม Q : ข้อความเกี่ยวกับความหนืดน้ำมันเครื่องที่เขาแชร์กันนี้ จริงไหม ? A : ก็จริงนะ แต่มีบางส่วนที่ต้องอธิบายเพิ่ม Q : ความหนืดของน้ำมันเครื่อง คือ ระดับความข้นของน้ำมันเครื่อง เรียกง่าย ๆ ว่า หากน้ำมันเครื่องข้นหรือหนืดเกินไป จะไม่สามารถไหลเวียนและหล่อลื่นเครื่องยนต์ได้อย่างดี และหากมีความข้นหรือหนืดน้อยไปนั่นคือน้ำมันเครื่องเหลวมากไปนั่นเอง จะไม่สามารถให้การปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ได้ ? A : สำหรับข้อนี้จริงเลย เพราะว่าตัวเครื่องยนต์ปัจจุบันมีอยู่ 2 รูปแบบ เครื่องยนต์ยุคใหม่ต้องการน้ำมันหล่อลื่นเข้ามาช่วยขับเคลื่อนการทำงานของชิ้นส่วนกลไกภายในเครื่องยนต์ในบางชิ้นส่วน เพราะฉะนั้นน้ำมันเครื่องที่เราจะเลือกใช้ควรจะเลือกให้ตรงกับคู่มือ Q : ตัวเลขที่อยู่หน้า “W” คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่ต่ำหรือขณะที่เครื่องยนต์เย็น ยิ่งตัวเลขน้อยจะแสดงถึงค่าความหนืดที่ต่ำ ทำให้สามารถหล่อลื่นเครื่องยนต์ขณะเย็นได้ดีนี่เป็นยังไง ? A : คำว่าเครื่องเย็นอาจจะต้องขยายนิดนึงเครื่องเย็นนี้ หมายถึงเครื่องเย็นในฝั่งยุโรปทางด้านตอนเหนือหรือว่าขั้วโลกใต้ เพราะว่าเครื่องเย็นในประเทศไทยไม่มีผลแน่นอน เพราะว่าตัวเลขของน้ำมันเครื่องในยุคเก่าจะไม่มี W คั่นกลาง แต่ว่ายุคใหม่มันจะมีตัวเลขข้างหน้าเป็นเลข 05 ตัวเลขทางด้านหน้าตัว W W คือ Winter คำว่าเย็นในที่นี้ หมายความว่าน้ำมันเครื่องนั้นถูกทดสอบที่อุณหภูมิ -18 องศา แล้วก็ถ้าเกิดตัวเลขทางด้านหน้าเป็นเลข 0 หมายความว่าเขาทนความเย็นได้ถึงอุณหภูมิ -30 องศา ถ้าขยับมาเป็นเลข 5 10 15 ก็จะ -10 -20 Q : ส่วนตัวเลขหลัง “W” คือค่าความหนืดของน้ำมันเครื่องในสภาวะอุณหภูมิที่สูงหรือขณะที่เครื่องยนต์กำลังทำงาน ยิ่งตัวเลขสูงจะแสดงถึงค่าความหนืดที่สูง ทำให้สามารถหล่อลื่นและปกป้องเครื่องยนต์ขณะทำงานได้ดี เช่น 30, 40, 50 ,60 โดยจะวัดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ? A : ข้อนี้ต้องแยกเป็น 2 ส่วน เรื่องของเบอร์น้ำมันเครื่องในยุคเก่าถอยกลับไปประมาณยุค 90 อันนั้น เป็นความเชื่อของเราเลยว่า น้ำมันเครื่องเกรดสแตนดาร์ดในยุคนั้นจะอยู่เบอร์ประมาณสัก 40 เครื่องยนต์ที่มีการตกแต่งเทอร์โบชาร์จ ในยุคแรกก็จะบอกว่าใส่น้ำมันเบอร์ 50 มีทีมแข่งใช้ถึงเบอร์ 60 นั่นก็เพราะว่าน้ำมันเครื่องยุคเก่าอายุการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น บวกกับความร้อนที่สูงมากขึ้น ทำให้น้ำมันเครื่องมีประสิทธิภาพลดลง น้ำมันเครื่องที่เบอร์ประมาณสัก 40 - 50 พอถูกใช้งานที่อุณหภูมิ 100 องศาต่อเนื่องไปนาน ๆ หรือว่าผ่านไปหลาย ๆ กิโล จากเดิมที่ 100 องศาแล้วเคย 50 พอเก่าเขาใสกว่าเดิมกลายเป็น 30 ทำให้ผู้ที่ใช้งานเครื่องยนต์ในยุคเก่าหรือน้ำมันเครื่องยุคเก่าสมัยนั้น ก็ต้องเผื่อเอาเบอร์ที่มันมีความหนืดเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้มันหล่อลื่นได้ดีมากขึ้น ในปัจจุบันน้ำมันเครื่องส่วนใหญ่กลายเป็น Semi synthetic (กึ่งสังเคราะห์) หรือว่ามีส่วนผสมของสารเคมีเพิ่มมากขึ้นหรือว่า Fully Synthetic (น้ำมันเครื่องสังเคราะห์) ซึ่งเป็นสารเคมี 100 เปอร์เซ็นต์ เลยเอามาผสมทำให้ทำหน้าที่หล่อลื่น พอเป็นน้ำมันที่ถูกผสมสารเคมีเพิ่มคุณภาพเข้าไปเยอะ ๆ ไม่จำเป็นต้องมีเบอร์หรือว่าค่าความหนืดที่หนา Q : การใช้งานในบ้านเราตัวเลขหน้า “W” ไม่ต้องดูก็ได้ ให้เน้นดูตัวหลังเป็นหลัก สามารถดูได้จากคู่มือ ? A : จริงเลย Q : โดยรถยนต์แต่ละประเภทจะใช้ระดับความหนืด ดังนี้ รถยนต์ที่ยังใหม่ มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ไม่เกิน 200,000 กิโลเมตร ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดต่ำ เช่น 30 เป็นต้น จริงไหม ? A : อย่าไปอ้างอิงหรือกำหนดตัวเลขว่าไม่เกิน 200,000 กิโลเมตร ให้ไปใช้ตัวน้ำมัน 30 เลย เพราะว่าน้ำมันเครื่องตามสเปกที่ออกมาจากตัวโรงงาน ปัจจุบันมีต่ำลงมาถึงเบอร์ 20 ใสระดับใกล้ ๆ เบอร์ 15 ก็ยังมี เพราะฉะนั้นเริ่มต้นควรจะอ้างอิงจากคู่มือของผู้ผลิต Q : ส่วนรถยนต์ที่ผ่านการใช้งานมานาน มีเลขกิโลเมตรหรือเลขไมล์ 200,000 กิโลเมตรขึ้นไป ควรเลือกน้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดสูง เช่น 40 หรือ 50 เป็นต้น ? A : สำหรับรถที่ไมล์เยอะ ๆ การที่น้ำมันเครื่องเบอร์สูงมากขึ้น ชั้นฟิล์มก็จะหนามากขึ้น ฟิล์มของน้ำมันเครื่องจะสามารถที่จะช่วยซีลกำลังอัดหรือว่าลดการรั่วหรือแทรกของกำลังที่ผ่านตัวช่องว่างของการสึกหรอของเครื่องยนต์ได้บ้างเล็กน้อย Q : สรุปแล้วข้อความเกี่ยวกับความหนืดน้ำมันเครื่องแบบที่เขาแชร์กันนี้ เป็นยังไง ? A : ส่วนใหญ่ก็จริง แต่ก็มีบางส่วนที่อาจจะต้องมีการขยายเพิ่ม ก็สามารถแชร์ต่อได้แต่มีการเขียนแนะนำเพิ่มเติม 👉 เลือกการป้องปกเครื่องยนต์อย่างถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยลดความเสียหายได้ #ชัวร์ก่อนแชร์ #sureandshare ----------------------------------------------------- 🎯 หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ "ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์" 🎯 LINE | @SureAndShare หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40sureandshare FB | / sureandshare Twitter | / sureandshare IG | / sureandshare Website | http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com TikTok | / sureandshare ข่าวค่ำ | สำนักข่าวไทย อสมท | ช่อง 9 MCOT HD เลข 30 | http://www.tnamcot.com