Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно วิเคราะห์ - ซ่อมตู้เย็นประตูเดียว...รู้สาเหตุภายใน 10 นาที или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
เป็นคลิปวีดีโอที่แนะนำ-ทบทวนเกี่ยวกับการวิเคราะห์การซ่อมตู้เย็นประตูเดียวทางระบบไฟฟ้า และหาตัวเสียแบบง่ายๆไม่ยุ่งยาก โดนเริ่มจากการทำงานของวงจรไฟฟ้าให้คอมเพรสเซอร์ทำงาน ส่วนของไฟส่องสว่างภายในตู้ การทำงานของคอมเพรสเซอร์จะเริ่มจาก ไฟ AC เส้น L ผ่านไปยังเทอร์โม-คอนโทรล (ซึ่งเป็นทั้งสวิทช์,ตัวควบคุมความเย็น,ตัวตัดเข้าสู่การละลายน้ำแข็งหรือหยุดการทำงานของคอมเพรสเซอร์) เข้าสู่คอมเพรสเซอร์ที่หัวหลัก C (คอมม่อน) โดยผ่านโอเวอร์-โหลดที่ทำหน้าที่ป้องกันกระแสเกินที่จ่ายให้กับขดลวดมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์ ไฟ AC เส้น N ก็จะเข้าสู่หัวหลัก R (รัน) ของคอมเพรสเซอร์ โดยจะมีรีเลย์-ช่วยสตาร์ทต่ออยู่ระหว่างหัวหลัก S (สตาร์ท) และหัวหลัก R (รัน) .....เมื่อได้ไฟทั้ง L และ N แล้วมอเตอร์-คอมเพรสเซอร์ก็จะเริ่มทำงานโดยจะเริ่มที่ขด S (สตาร์ท)ก่อน พอขดสตาร์ททำงานได้ซักพักก็จะส่งต่อให้ขด R (รัน) ทำงานต่อไปตลอดการทำงาน ซึ่งจะทำงานมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับการปรับการควบคุมของเทอร์โม-คอนโทรล ส่วนสำหรับชุดไฟส่องสว่างภายในตู้ ก็จะประกอบด้วยตัวสวิทช์กดดับ-ปล่อยติด...ต่ออนุกรมกับหลอดไฟขนาดไม่เกิน 10-15 วัตต์ และแต่ละข้างของหลอดไฟกับสวิทช์จะต่อเข้ากับไฟ L และ N ****** เพราะฉะนั้นการทำงานของชุดหลอดไฟจะทำงานอยู่ตลอดเมื่อเราเสียบปลั๊ก และจะส่องสว่างเมื่อเราเปิดประตูตู้เย็นเสมอ ทำให้เราสรุปได้ว่าถ้าไฟในตู้ติดแต่คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน น่าจะมาจากสาเหตุที่ตัวเทอร์โม-คอนโทรล หรือไม่ก็ชุดช่วยสตาร์ทกับโอเวอร์-โหลด เทานั้นในกรณีคอมเพรสเซอร์ยังเป็นปกติ ****** เราจะเห็นว่าเราแทบจะไม่ต้องใช้เครื่องมือวัดในการตรวจซ่อมเลยแม้แต่น้อย ......ถ้าไฟในตู้ติดแต่เราสงสัยว่าเทอร์โม-คอนโทรลมีปัญหา ให้ถอดตัวเทอร์โมฯออก แล้วเอาสายไฟที่ต่อที่ขั้วเทอร์โมฯ มาต่อตรงเข้าหากันแล้วเสียบปลั๊ก ถ้าคอมทำงานได้แสดงว่าเทอร์โม-คอนโทรลเสียแน่นอน ......แต่ถ้าคอมฯยังไม่ทำงาน ก็ต้องไปตรวจเช็ครีเลย์-ช่วยสตาร์ทและโอเวอร์-โหลดเป็นลำดับต่อไป ก็หวังไว้เช่นเดิมว่าคลิปวีดีโอตัวนี้น่าจะมีประโยชน์ได้บ้างสำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มสนใจและศึกษา เชื่อว่าเมื่อถ้าเราทำได้แล้วจะเกิดความภูมิใจและอยากทำให้ได้มากกว่านี้มากขึ้นไปอีก ขอกราบขอบพระคุณท่านสมาชิกที่กดติดตามและช่างมือใหม่ หรือผู้ที่สนใจในงานทางด้านนี้ทุกท่าน จงประสบความสำเร็จในสิ่งที่ท่านชอบและในสิ่งที่ท่านทำ ปรึกษาปัญหาได้ที่เบอร์ 02-8855306 และ 084-6663328 ยินดีตอบคำถามทุกๆท่านด้วยความเต็มใจ...ขอบพระคุณอีกครั้ง “ขอให้ความรู้จงสถิตอยู่กับตัวท่าน” “ขอให้ความสำเร็จจงตามไปด้วยกับท่าน” กราบขอบพระคุณทุกท่านที่ติดตามและรับชมด้วยดีเสมอมา สวัสดี...นายพสิษฐ์ ชัยสนองพัฒน์ 20/11/2563 20.00 น.