Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ycliper.com Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно AP LAW 67 "ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย” или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
AP LAW 67 "ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย” ตามปกติแล้วการทวงหนี้นั้นจะมีลักษณะการทวงหลายรูปแบบ ซึ่งหลายครั้งก็กระทำด้วยวิธีการอันมิชอบต่อกฎหมาย เช่น การข่มขู่ การทำร้ายร่างกาย การกระทำอนาจาร เป็นต้น อันเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นการ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรงการคุกคามโดยขู่เข็ญ การใช้กำลังประทุษร้าย หรือการทำให้ลูกหนี้เสียชื่อเสียงการให้ข้อมูลเท็จ การสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่บุคคลอื่น เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลในการตรากฎหมายใหม่คือ “พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558” ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2558 โดยการทวงถามหนี้ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ผู้ทวงถามหนี้ ได้แก่ เจ้าหนี้ผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่น ๆ ซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้ และหมายความรวมถึงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้และผู้รับมอบอำนาจจากผุ้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 โดยมูลหนี้ตามพระราชบัญญัตินี้ จะมีนิยามตามมาตรา 3 ในนิยามคำว่า “สินเชื่อ” ซึ่งได้แก่ สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาด้วยการกู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าลีสซิ่ง และสินเชื่ออื่น ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน แต่ลูกหนี้ตามพระราชบัญญัตินี้ จะใช้เฉพาะกรณีลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น และรวมไปถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย และการทวงถามหนี้ในพระราชบัญญัตินี้จะเฉพาะกรณีธุรกิจทวงถามหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงกรณีทนายความออกหนังสือบอกกล่าวทวงถามเพื่อกระทำการทวงหนี้แทนลูกความของตน โดยผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้นั้น จะต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ตามที่บัญญัติในมาตรา 5 ในกรณีของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลนั้น จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนกองบัญชาการตำรวจนครบาล กรณีสถานที่ประกอบธุรกิจตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร หรือสำนักงานทะเบียน ที่ทำการปกครองจังหวัด กรณีสถานที่ประกอบธุรกิจตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กรุงเทพมหานคร หรือกรณีทนายความหรือสำนักงานทนายความเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ จะเป็นไปตามมาตรา 8 คือการจดทะเบียนจะต้องจดทะเบียนต่อสภาทนายความ โดยรายละเอียดการยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น จะเป็นไปตามกฎกระทรวงการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 . สรุป การทวงหนี้จะต้องกระทำตามที่พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 รวมถึงประกาศคณะกรรมการทวงถามหนี้ด้วย มิเช่นนั้น อาจมีโทษทางปกครองหรือโทษทางอาญาตามมา เนื้อหาโดย กิตตินันท์ จารุกิจไพศาล Paralegal น.บ. (ธรรมศาสตร์)