Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ycliper.com Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно เพราะขอบฟ้ากว้าง : ชรินทร์ นันทนาคร или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
ป่านนี้แก้วตานิจจาคอยพี่ โอ้ป่านฉะนี้คนดีคงทุกข์โศกซม คิดถึงคืนวันที่สองเรานั้นรื่นรมย์ ต่างชื่นต่างชมภิรมย์รักกันมา บัดนี้พี่ยังรักเธอไม่หน่าย สู้อยู่เดียวดาย ไม่คลายความรักแก้วตา รสรักยังตรึงซาบซึ้งแน่นดวงวิญญา ขอเพียงแก้วตาสัญญาไม่เปลี่ยนใจ แต่เรานี้ต้องอยู่ห่างกัน ต่างคนต่างฝัน ต่างคนตื้นตันทรวงใน เห็นดารานึกว่าเนตรน้อง พี่หลงพี่จ้องมองไป เห็นเงากิ่งไทร พี่ยังเคลิ้มไปว่ากานดา อยู่ฟ้าเดียวกันพระจันทร์ดวงหนึ่ง แปลกใจสุดซึ้ง ไยจึงไกลน้องหนักหนา ฟ้านี้ไกลไปไม่เหมือนดั่งใจเสน่หา อยากใกล้กานดา อยากให้ขอบฟ้าแคบแคบเอย เพราะขอบฟ้ากว้าง ผลงานของ ชรินทร์ นันทนาคร ประพันธ์คำร้อง โดย สุรพล โทณะวณิก ทำนอง โดย ป.วรานนท์ ครูสุรพล โทณะวณิก เขียนเล่าถึงเพลงนี้ว่า ราวปี 2498 ขณะนั้นเป็นทั้งนักเขียน นักแต่งเพลง และทำงานด้านโฆษณาด้วย ได้รู้จักกับคุณสุทธิพงษ์ ศรีวิกรม์ นักธุรกิจใหญ่ ซึ่งกำลังคิดทำคอนโดตากอากาศที่บางแสนและพัทยา คุณสุทธิพงษ์ชวนครูน้อยไปดูงานโรงแรมที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้กลับมาทำโฆษณาให้ น่าเสียดายที่เมื่อกลับมาเมืองไทยไม่นาน คุณสุทธิพงษ์ก็เสียชีวิตอย่างกระทันหัน จึงพลาดทำโฆษณาชิ้นนี้ แต่การไปญี่ปุ่นครั้งนั้น สิ่งหนึ่งที่ติดมือกลับมา คือเพลง "เพราะขอบฟ้ากว้าง" ที่แต่งขณะอยู่ที่ญี่ปุ่น ในยามที่คิดถึงใครคนหนึ่งที่เมืองไทย ส่วนสาเหตุที่ต้องใช้ชื่อ ครู ป.วรานนท์เป็นผู้แต่งร่วมนั้น เพราะครู ป.วรานนท์ บอกว่าเขาก็แต่งเพลงมีชื่อคล้ายๆกันนี้ไว้เหมือนกัน ขอให้นำส่วนที่ตัวเองแต่งมารวมกับที่ครูน้อยแต่ง แล้วใช้ชื่อเป็นผู้แต่งร่วมกันไป ครูน้อยก็ยอมตกลง เพื่อให้เพลงมีโอกาสบันทึกเสียงเร็วขึ้น เพราะครู ป.วรานนท์ ขณะนั้นเป็นผู้จัดการห้องบันทึกเสียงของบริษัทอัศวิน สุรพล โทณะวณิก ศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2540 ท่านเป็นทั้งนักแต่งเพลง นักเขียน นักข่าว นักหนังสือพิมพ์ บิดามารดาเสียชีวิตหมดตั้งแต่อายุเพียง 6 ปี จึงกลายเป็นเด็กเร่ร่อนจนอายุ 13 ปี ได้ติดตามพระครูคุณรสศิริขันธ์ เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ ไปอยู่ที่จังหวัดสุรินทร์จนเรียนจบชั้น ม.3 แล้วย้ายไปอยู่จังหวัดนครราชสีมา ก่อนจะย้าย กลับมากรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2492 สุรพล โทณะวณิก ทำงานที่โรงละครเวิ้งนครเกษม ได้รู้จักครูเพลง นักดนตรี และนักแสดงในวงการ ก่อนจะได้ไปช่วยงานกับ สุวัฒน์ วรดิลก และศักดิ์เกษม หุตาคม (อิงอร) และได้ทำงานเขียนเรื่องสั้นให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารหลายฉบับ เช่น เพลินจิต แสนสุข วันอาทิตย์ ชาวกรุง เป็นนักข่าวอาชญากรรม และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ สุรพล โทณะวณิก เริ่มแต่งเพลงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2495 ให้กับไสล ไกรเลิศ ผลงานเพลงที่มีชื่อเสียงเช่น เพลง "ลาแล้วแก้วตา" และ "ในโลกแห่งความฝัน" ขับร้องโดย สุเทพ วงศ์กำแหง "ใครหนอ" และ "ฟ้ามิอาจกั้น" ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธุ์ "ยามรัก" (ร่วมกับ เอื้อ สุนทรสนาน) และ "แม่เนื้ออุ่น" ขับร้องโดย หม่อมราชวงศ์ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ "แตกดังโพละ" ขับร้องโดย มีศักดิ์ นาครัตน์ ผลงานเพลงในยุคหลัง เช่นเพลง "ลมรัก" และ "อยากลืมกลับจำ" ในปี พ.ศ. 2524 ขับร้องโดย เดอะฮอตเปปเปอร์ซิงเกอร์ (ผุสดี เอื้อเฟื้อ และรุ่งพิรุณ เมธารมณ์) ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2526 สุรพล โทณะวณิก เคยมีผลงานกำกับภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2515 เรื่อง ไอ้แกละเพื่อนรัก และ อีหนู หรือ 13 สาว 11 บริสุทธิ์ ในปี 2516 สุรพล โทณะวณิก ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากเพลง "ใครหนอ" "ในโลกแห่งความฝัน" และ "เพชรตัดเพชร" ในปี พ.ศ. 2507 และได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การประพันธ์เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2540 และ ในปี พ.ศ. 2553 สุรพล โทณะวณิก ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติยศผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต จากในโครงการเพชรในเพลง ครั้งที่ 7 จากเพลง ใครหนอ ขับร้องโดย สวลี ผกาพันธ์ ได้รับในวันภาษาไทยแห่งชาติ วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ. ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย