Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา , อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา | พุทธวจน или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
#พุทธวจน #นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา , อนิจจัง ทุกขัง #อนัตตา , สุข ทุกข์ ไม่ใช่เรา ไม่ตะเกียกตะกายวิ่งหาสุข ทุกข์ เวลาทุกข์ ก็ไม่ฟูมฟายเกินไป เพราะว่าทุกข์ก็ไม่ใช่ของฉัน เวลาสุข ก็ไม่ฟูใจจนเกินไป เพราะว่าสุขก็ไม่ใช่ของฉัน และไม่วิ่งแสวงหาความสุขจนเกินประมาณ 00:01 อหังการ มมังการ มานานุสัย 04:16 อนิจจัง ความไม่เที่ยง .. เดินตัวสั่น มีตัวค้อมไปข้างหน้า หวีผม ตัดสั้นอย่างลวกๆ 06:45 อนัตตา ไม่มีตัวตน ..จึงเป็นนิยามศัพท์ของธรรมชาติที่ เกิดปรากฎขึ้นมา แล้วเสื่อม แล้วหายไป 10:37 อัตถิตา และ นัตถิตา สุดโต่งของความเห็นสองฝั่ง คือความเห็นว่าสิ่งทั้งปวงมีอยู่ หรือไม่มีอยู่ ,ตถาคตย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง 11:55 อิทัปปัจจยตา - ปฏิจจสมุปบาท เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะการเกิดขึ้นของสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น... -------------------------- อหังการ มมังการ มานานุสัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไรจึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก. ภิกษุ รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ดี ทั้งที่เป็นภายในหรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นรูปทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า #นั่นไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) #นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา). เวทนาอย่างใดอย่างใดหนึ่ง ... อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นเวทนาทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นสัญญาทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ... อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ดี ทั้งที่เป็นภายในหรือภายนอกก็ดี หยาบหรือละเอียดก็ดี เลวหรือประณีตก็ดี มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นวิญญาณทั้งหมดนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ภิกษุ เมื่อบุคคลรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงจะไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย{๑} ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งปวงในภายนอก (สวิญฺญาณเก กาเย พหิทฺธา จ สพฺพนิมิตฺเตสุ อหงฺการมมงฺการมานานุสยา น โหนฺตีติ). ๑. อหังการ = ทิฏฐิอันเป็นเหตุให้กระทำความถือตัวว่าเรา -- พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๒๐ พุทธวจน สังโยชน์ หน้าที่ ๑๑๖-๑๑๗ -- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๑ ข้อที่ ๑๙๑ ------------------------- คำสอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก “พระโคดมผู้เจริญ ! ทรงนำสาวกทั้งหลายไปอย่างไร ? อนึ่ง อนุสาสนีของพระโคดมผู้เจริญ ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างไร ?”. อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้, อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้ว่า : “ภิกษุทั้งหลาย ! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง. ภิกษุทั้งหลาย ! รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน. สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง; ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน” ดังนี้. อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำสาวกทั้งหลายไปอย่างนี้, อนึ่ง อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย ส่วนมาก มีส่วนแห่งการจำแนกอย่างนี้, ดังนี้. -- พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๑ พุทธวจน ตามรอยธรรม หน้าที่ ๔๓-๔๔ -- พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๒ สุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๓ ข้อที่ ๓๙๖ ------------------------- ... ภิกษุทั้งหลาย ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งอยู่สองอย่างที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง นั้นคืออะไร คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล. ภิกษุทั้งหลาย ! #ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. ... -- พุทธวจน-หมวดธรรม เล่มที่ ๑๔ พุทธวจน ตถาคต หน้าที่ ๑๗๘ -------------------------- ร่วมบุญสนับสนุนกับทางวัดนาป่าพงโดยตรง (เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ชม) บัญชี วัดนาป่าพง ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่ 318-246175-6 ติดตามพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และคณะทำงานวัด ช่องพุทธวจนเรียล : https://bit.ly/3pw52GZ เพจพุทธวจนเรียล : https://bit.ly/3K67mfS -------------------------- ร่วมบุญสนับสนุนช่อง ทางนิพพาน ช่วยแชร์วิดีโอหรือ "ไม่กดข้ามโฆษณา"(บ้าง) ^^🙏🏻😊 หรือจาคะผ่านระบบสมาชิก เพจเฟซบุ๊ก / tangnibbana ช่องยูทูบ / tangnibbana