Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно เมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ชุมชนโบราณในมุมประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่ "ตำนานพระรถเมรี" или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
เมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ชุมชนโบราณในมุมประวัติศาสตร์ ที่ไม่ใช่ "ตำนานพระรถเมรี" ชุมชนโบราณยุคประวัติศาสตร์ (ประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ.๑๐๐๐) "เมืองชลบุรี" มีพื้นที่ ๔,๓๖๓ ตร.กม. อดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณ ที่มีความรุ่งเรือง ถึง ๓ เมือง คือ เมืองพระรถ เมืองพญาเร่ และเมืองศรีพโล ในเอกสารแผนที่ไตรภูมิโบราณ สมัยอยุธยา ปรากฎชื่อตำบลสำคัญของชลบุรี ๔ ตำบล เรียงจากเหนือไปใต้ คือ บางทราย บางปลาสร้อย บางพระเรือ บางละมุง ยังไม่ปรากฎคำว่า "ชลบุรี" ในแผนที่ไตรภูมิฉบับที่ว่านี้ (ชลบุีรี เกิดยุคกรุงรัตนโกสินทร์) เมืองพระรถ เป็นชุมชนเมืองโบราณ อยู่ที่บ้านหน้าพระธาตุ ต.หน้าพระธาตุ อยู่ห่างจากตัว อ.พนัสนิคม มาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑ กิโลเมตร ปัจจุบันถนนฉะเชิงเทรา - พนัสนิคม ตัดทับส่วนหนึ่งของกำแพงและคูเมืองด้านทิศตะวันออก ตรวจสอบจากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบ เชื่อว่าเมืองนี้เป็นเมืองในสมัยทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖) และเจริญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘) โบราณสถาน มีอยู่สองประเภทคือ ร่องรอยผังเมืองและศาสนสถาน ผังเมืองพระรถเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด ๑,๕๕๐ x ๘๕๐ เมตร (ด้านทิศตะวันออก) ส่วนด้านทิศตะวันตก ๗๕๐ เมตร กำแพงเมืองเป็นคันดินสองชั้น สูงจากพื้นดินประมาณสองศอกเศษ ห่างกันชั้นละห้าวา คูเมืองกว้างประมาณสามศอก พื้นที่ในตัวเมืองประมาณ ๘๘๐ ไร่ เมืองพระรถตั้งอยู่ระหว่างที่สูงและที่ลุ่มมาบรรจบกัน มีลำน้ำไหลผ่านหลายสาย ซึ่งเป็นลำน้ำพานทอง จึงเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมท้องถิ่น เพราะลำน้ำเหล่านี้เป็นตัวเชื่อมเมืองพระรถกับชุมชนร่วมสมัยอื่นๆ เช่น เมืองศรีมโหสถ (จ.ปราจีนบุรี) เมืองพญาเร่ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี) ส่วนทางด้านทิศตะวันตก ถ้าหากออกจากเมืองพระรถ ไปตามลำน้ำพานทองแล้ว ก็จะออกทะเลที่ปากแม่น้ำบางปะกงได้ ริมฝั่งทะเลด้านใต้ของอ่าวบางปะกง มีเมืองโบราณแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าเมืองศรีพโล อยู่ในเขต อ.เมือง จ.ชลบุรี ปัจจุบัน ตามความเชื่อของชาวบ้านแต่ก่อนเล่าว่า มีถนนสองสาย สายหนึ่งออกจากบ้านหัวถนนไปยังเขตอำเภอพนมสารคาม ไปยังเมืองศรีมโหสถที่ปราจีนบุรี และอีกสายหนึ่งไปยังเมืองศรีพโลที่อยู่ชายทะเล เมืองพระรถ ก็คือ เมืองพนัสนิคมในปัจจุบัน พื้นที่ใน อ.พนัสนิคมสมัยก่อน ครอบคลุมถึง อ.เกาะจันทร์, อ.บ่อทอง และ อ.พานทอง อ.บ้านบึงบางส่วน รวม ๕ อำเภอด้วยกัน ว่ากันตามขนาดของเมือง เมืองพระรถนี้จัดได้ว่าเป็นเมืองขนาดใหญ่ ในสมัยทวารวดี เลยทีเดียว... เมืองพระรถ ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ของกรมศิลปากร ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ หน้า ๓๖๘๔ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๘ เป็นที่มาของชื่อ “บ้านแดนป่าเมืองพระรถ” แหล่งที่มาข้อมูล....หอสมุดแห่งชาติชลบุรี หนังสือ รวมเรื่องเมืองชล เล่ม 2 ชลบุรีในอดีต ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรี หนังสือเมืองโบราณ ฉบับเมืองเก่าชลบุรี ปี ๒๕๒๒ ตู่ มะนาวตัด แอดมินเพจ ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองชล ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองพนัส ตำนานพระรถเมรี พนัสนิคม เรียบเรียง ตำนานพระรถเมรี พนัสนิคม ขอขอบคุณ ผู้สนับสนุนการถ่ายทำ http://www.homelandchonburi.com อันดับ 1 บ้านมือสองชลบุรี ฉลอง. ปีที่ 15 ศูนย์รับฝากขายบ้านที่ดินแห่งแรก ของ จ.ชลบุรี ฟรี! ทุกขั้นตอน จนกว่า จะขายได้ ขายไม่ได้ ค่าใช้จ่ายไม่มี ฟรี!โฆษณา ราคาเจ้าของบ้าน ซื้อขาย บ้านที่ดินชลบุรี กับมืออาชีพ มั่นใจได้ 100% tel. 081-3447752 , 084-1019559 #เมืองพระรถพนัสนิคม #เมืองพระรถในมุมประวัติศาสตร์ #ตำนานพระรถเมรีพนัสนิคม #พระรถเมรีพนัสนิคม #ตำนานพระรถเมรีพนัสนิคม #พระรถเมรี #เมืองพระรถ #นางสิบสอง #นางสิบสองพนัสนิคม #นิทานพื้นบ้านตำนานพระรถเมรี #หมอนนางสิบสอง #ถ้ำนางสิบสอง #กำแพงเมืองพระรถ #ชุมชนโบราณยุคประวัติศาสตร์ #เขาชะอางค์ #เขาชะอางค์ทรงเครื่อง #บ่อทอง #เมืองพญาเร่