Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно กำเนิดใบเสมาในประเทศไทย или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
จากการค้นคว้าของนักวิชาการ เรื่องการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณ อายุ 1,000-3000 ปี จากทั่วโลก มีการพบร่องรอยของ "วัฒนธรรมบูชาหิน หรือบูชาหินตั้ง" การบูชาแท่นหิน เสมือนหนึ่งนั้นคือ สิ่งที่เคารพนับถือ สิ่งที่เป็นที่รัก และอาจจะเป็นสิ่งที่น่าเกรงกลัว จนต้องยกสิ่งนั้นไว้ให้เป็นสถานที่เฉพาะ เป็นอาณาเขตศักดิ์สิทธิ์ หรือ เขตหวงห้าม มีอิทธิพลทางจิตใจ และประเทศไทย มีการค้นพบ"วัฒนธรรมการบูชาหินตั้ง" และร่องรอยประเพณีพิธีกรรม เกี่ยวข้องกับการบูชายัญ บูชาผี พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วทุภาคของประเทศ แม้ในปัจจุบันวัฒนธรรมหินตั้ง ได้ค่อยๆเลือนหายไป แม้ว่าผู้คนจะรู้จักกับ การบูชา "หินตั้ง" น้อยลง มีการนับถือผีน้อยลง เนื่องจากเกิดการรับพระพุทธศาสนาเข้ามา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ คนส่วนใหญ่หันไปเชื่อกฎแห่งกรรม แต่อย่างไรก็ตามการนับถือผี ก็มิได้เลือนหายไปจากสังคม เพราะวิถีพุทธ กับความเชื่อเรื่องผี ยังมีความเกี่ยวข้องกันกับวิถีชิวิตของผู้คน กลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น กลุ่มชาติพันธ์ลาว มอญ เขมร คนเหล่านี้นั้นยังเซ่นไหว้ผีอยู่จนถึงปัจจุบัน การไหว้บูชา ผีบ้าน ผีเมือง พิธีการเลี้ยงผี เจ้าป่า เจ้าเขา การบูชาสิ่งเหล่านี้ เชื่อว่าพวกเขา จะมีชีวิตที่ดี ไม่เจ็บ ไม่ป่วย ทำไร่ทำนาได้ผลผลิตดี อาจสรุปได้ว่า เริ่มต้นการบูชาหินตั้ง อาจจะหมายถึงหมุดหมายแสดงจุดที่ตั้ง ของสถานที่ หรือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เป็นหมุดหมายว่าจุดนั้นคือที่ผังศพ หรือ หมุดหมายอาณาเขต หมุดหมายสถานที่ ที่มีอำนาจลี้ลับสิงสถิตอยู่ จนมีการพัฒนาต่อมา มีการผสมเข้ากับอีกหลายๆวัฒนธรรมจนในปัจจุบัน และหินตั้งเหล่านั้น กลายมาเป็นใบเสมา ในความเชื่อของพุทธศาสนา เป็นหินตั้งที่แสดงถึงเขตของสงค์ ใช้กำหนดเขตแดนทางพุทธศาสนา เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้เสมาหินจะเป็นแท่งหิน เพื่อใช้ปักบอกเขตศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธ เมื่อราว 1,500 ปีมาแล้วก็ตาม แต่กลับไม่พบใบเสมาหินเหล่านี้ ในประเทศอินเดีย ต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ใบเสมาหินที่เก่าที่สุดและพบมากสุด กลับพบในดินแดนอีสาน อาจกล่าวได้ว่า ดินแดนแถบนี้ มีวิวัฒนาการของใบเสมาอย่างต่อเนื่อง อ.ศรีศักร วัลลิโภดม ผู้บุกเบิกการสำรวจ ตรวจสอบโบราณสถานทั่วอีสาน มากกว่า 50 ปี พบว่า “เสมาหิน” ในศาสนาพุทธมีต้นตอจากวัฒนธรรมการบูชา “หินตั้ง” ในศาสนาผี มีหลักฐานที่สำคัญแห่งหนึ่ง คือ หินตั้งที่อยู่บนภูพระบาทบัวบก-บัวบาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ปัจจุบันกรมศิลปากรเรียกจุดนี้ว่า อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มีการพบใบเสมา หรือ สีมา ที่เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขต พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-16 เป็นยุคที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรื่องขึ้น มีการสร้างใบเสมาหินอย่างแพร่หลายในภาคอีสาน โดยใบเสมาที่พบมากสุด อยู่ที่จังหวัดกาฬสินธิ์ การปักใบเสมาดังกล่าว อาจสืบเนื่องมาจากระบบคติความเชื่อ ซึ่งนักวิชาการหลายท่าน สันนิษฐานว่าอาจจะเกี่ยวกับความเชื่อ เรื่องการนับถือผีบรรพบุรุษของชนพื้นเมือง ที่พบได้ทั่วไปในเอเชียอาคเนย์ นอกจากนี้ ยังมีพัฒนาการ การสร้างใบเสมา เพื่อเป็นหลักเขตกำหนดบริเวณศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ประกอบพิธีกรรมในพุทธศาสนา ใบเสมา อาจจะหมายถึง เป็นตัวแทน สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับเคารพบูชา ทำหน้าที่คล้ายเจดีย์ หรือพระพุทธรูป เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา ใบเสมาที่พบในวัฒนธรรมทวารวดีทางภาคอีสาน มีหลายลักษณะ บางจุดพบเพียงแท่งหินขนาดใหญ่ บางจุดพบเป็นแบบแท่งเสา มีการสกัดหินทราย ให้เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม มีการตกแต่งลวดลาย รูบทรงสามเหลี่ยมคล้ายสถูป เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า บางจุด พบการแกะสลักเป็นหม้อน้ำศักดิ์สิทธิ์ (หม้อปูรณฆฏะ) มีลักษณะเป็นภาชนะทรงกลม มีการประดับลวดลาย เป็นรูปกรวยยอดแหลม หม้อน้ำนี้เป็นสัญลักษณ์มงคล ตามความเชื่อของคนอินเดียโบราณ แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ในหลายจุดที่พบใบเสมา นิยมสลักภาพเล่าเรื่องราว เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนา เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ในพุทธประวัติ และชาดกตอนสำคัญ พบการแกะสลักเป็นธรรมจักร สัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา กลับมาที่ใบเสมาที่พบในเมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธ์ จุดที่พบใบเสมาที่มากที่สุดของภาคอีสาน กลุ่มเสมากาฬสินธุ์นี้ มีหลายขนาดและหลายรูปแบบ บ้างใบมีการสลักรูปลายกลีบดอกบัวที่ฐาน และมีเส้นสันนูนพาดผ่านกลางใบ เอกลักษณ์ของเสมาเมืองฟ้าแดดสงยาง คือ การสลักภาพเล่าเรื่องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและนิทานชาดก และภาพสลักใบเสมาเมืองฟ้าดูดสงยาง จังหวัดกาฬสินธ์ ที่ได้รับยกย่องว่า เป้นใบเสมาที่มีความงดงามที่สุดของไทย คือใบเสมา ที่สลักเป็นภาพพุทธประวัติ ตอนพระนางพิมพาพิลาป ภาพสลักนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ด้านล่างเหนือฐานเสมา สลักเป็นรูปลายกลีบบัวคว่ำ บัวหงาย สลักเป็นรูปกำแพงเมือง และซุ้มประตู มีหลังคาทรงปราสาทซ้อนกัน 3 ชั้น ข้างประตูมีทหารถืออาวุธ ยืนขนาบฝั่งละ 2 คน ด้านบน สลักภาพพระพุทธเจ้าประทับนั่ง วางพระบาทลงบนพระเกศา ที่พระนางพิมพาสยายรองรับไว้ เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง ด้านขวาของภาพสลักพระพุทธองค์มีรูปบุคคล 2 คน คนที่อยู่ด้านหน้า สันนิษฐานจากเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับว่า เป็นพระเจ้าสุทโธทนะ ฝั่งซ้าย สลักภาพสตรี กำลังอุ้มเด็ก ซึ่งน่าจะเป็นพระราหุล ประทับนั่งอยู่ด้านหลังพระนางพิมพา ในปัจจุบัน ใบสีมาหิน ยังคงทำหน้าที่ เป็นหลักกำหนดเขตเพื่อการทำพิธีกรรม เป็นหลักเขตกำหนดบริเวณศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ประกอบสังคกรรม ในพุทธศานา อย่างมั่นคง