Из-за периодической блокировки нашего сайта РКН сервисами, просим воспользоваться резервным адресом:
Загрузить через dTub.ru Загрузить через ycliper.com Загрузить через ClipSaver.ruУ нас вы можете посмотреть бесплатно วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร : สมเด็จวัดระฆังโฆษิตาราม или скачать в максимальном доступном качестве, которое было загружено на ютуб. Для скачивания выберите вариант из формы ниже:
Роботам не доступно скачивание файлов. Если вы считаете что это ошибочное сообщение - попробуйте зайти на сайт через браузер google chrome или mozilla firefox. Если сообщение не исчезает - напишите о проблеме в обратную связь. Спасибо.
Если кнопки скачивания не
загрузились
НАЖМИТЕ ЗДЕСЬ или обновите страницу
Если возникают проблемы со скачиванием, пожалуйста напишите в поддержку по адресу внизу
страницы.
Спасибо за использование сервиса savevideohd.ru
ติดตามชมผลงานของ ภิรมย์ ศรีธรรมราช และศิลปินได้ที่ ช่อง อัยย๊ะอะเมซิ่ง ( ชื่นชอบ ถูกใจ กดแชร์ กดติดตามกันนะครับ) / @aiyaamazing ประวัติ วัดระฆังโฆษิตาราม วรมหาวิหาร วัดระฆังโฆสิตาราม เดิมเรียกว่า วัดบางหว้าใหญ่ เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี คู่กับวัดบางหว้าน้อย คือ วัดอมรินทราราม ปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงกู้อิสรภาพของไทยกลับคืนมาได้ และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ พร้อมกับตั้งพระนครหลวงขึ้นใหม่เรียกว่า กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๑๑ พุทธศักราช ๒๓๑๒ หลังจากที่ทรงขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงใฝ่พระทัยเป็นธุระในพระพุทธศาสนา พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ยกวัดบางหว้าใหญ่ซึ่งเดิมเป็นวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง และทรงมีพระราชปรารภว่า พระไตรปิฎกคงกระจัดกระจายเสียหายเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า เพราะพม่าได้เผาบ้านเมืองและวัดวาอารามพินาศลง จึงมีพระราชประสงค์จะรวบรวมชำระสอบทานพระไตรปิฎกนั้นให้ถูกต้องครบถ้วนตามเดิม และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งยังมีบริบูรณ์อยู่เพราะพม่ายังไปทำลายไม่ถึง ประจวบกับสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องเสด็จพระราชดำเนินไปทำสงครามที่เมืองนครศรีธรรมราช เมื่อเสร็จราชการสงครามแล้วได้ทรงพบพระอาจารย์รูปหนึ่งมีชื่อว่า พระอาจารย์สี แต่เดิมพระอาจารย์สีรูปนี้อยู่ประจำที่วัดพนัญเชิง แขวงเมืองกรุงเก่า เป็นผู้มีความสามารถแตกฉานในพระไตรปิฎก ทั้งเป็นผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระ ซึ่งพระองค์ทรงรู้จักดี เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าแล้ว ท่านได้หลีกไปอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้รวบรวมพระไตรปิฎกจากนครศรีธรรมราชได้แล้ว เสด็จกลับกรุงธนบุรีพร้อมกันนั้นก็ได้อาราธนาพระอาจารย์สีร่วมมาในขบวนนั้นด้วยและโปรดเกล้าฯ ให้ครองวัดบางหว้าใหญ่ พร้อมทั้งทรงตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชด้วย กาลต่อมาได้มีพระราชดำรัสสั่งให้พระเถรานุเถระมาประชุมกันที่วัดบางหว้าใหญ่อีก แล้วทรงอาราธนาให้พระเถรานุเถระทั้งหลาย มีสมเด็จพระสังฆราช (สี) เป็นประธาน ทรงขอให้รับธุระสอบทานพระไตรปิฎกจึงได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกจนสำเร็จเรียบร้อยบริบูรณ์ เป็นต้นฉบับที่ถูกต้องตามพระราชประสงค์ ณ วัดบางหว้าใหญ่ สมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระชนม์ได้ ๓๓ พรรษา รับราชการอยู่ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา ทรงย้ายจากบ้านอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มาตั้งนิวาสสถานอยู่ใกล้ๆ กับพระราชวังของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (ปัจจุบันคือกรมอู่ทหารเรือ) ต่อมาได้รับพระกระแสรับสั่งของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีให้เป็นแม่ทัพไปตีเมืองโคราช ท่านจึงสั่งให้รื้อหอพระตำหนักกับหอประทับนั่งมาปลูกถวายไว้ที่วัดบางหว้าใหญ่ ทางด้านทิศตะวันตกของพระอุโบสถ หลังคามุงจาก ฝาสำหรวดกั้นห้องด้วยกระแชง ทั้งนี้ตามความตั้งพระทัยไว้แต่เดิมว่าจะยกถวายวัด (ปัจจุบัน พระอุโบสถหลังเก่ายกขึ้นเป็นพระวิหาร เป็นสถานที่ให้เช่าพระ) เมื่อล่วงรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ แล้วได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาตั้งใหม่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกชื่อว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ฯ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้อาราธนาสมเด็จพระสังฆราช (สี) ที่ถูกถอดยศในสมัยของพระเจ้ากรุงธนบุรี มาครองวัดบางหว้าใหญ่ตามเดิม และรับสั่งให้พระสงฆ์วัดบางหว้าใหญ่และวัดโพธาราม (ปัจจุบัน คือ วัดพระเชตุพน อยู่ตรงท่าเตียน) เข้ารับบิณฑบาตในพระราชวัง ผลัดเวรกันวัดละ ๗ วัน สมเด็จพระสังฆราช (สี) นี้ จึงนับว่าเป็นปฐมสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเจริญด้วยพระราชศรัทธาทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นค่าจ้างจารจารึกพระไตรปิฎกลงในใบลานเป็นอักษรขอม เสร็จแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปถวายไว้ตามพระอารามหลวงทุกพระอาราม ยิ่งกว่านั้นทรงมีพระราชดำริว่า “มูลฐานแห่งพระพุทธศาสนาคือพระไตรปิฎก ควรจะได้ชำระสอบทานเสียใหม่ อย่าให้อักขระพยัญชนะวิปลาสคลาดเคลื่อน ถ้าทิ้งไว้นานไปเบื้องหน้า สิ้นพระเถรานุเถระเหล่านี้แล้วพระไตรปิฎกจะวิปลาส การพระศาสนาจะเสื่อมโทรม” ฉะนั้น จึงได้เลือกพระภิกษุผู้แตกฉานในพระไตรปิฎกได้ ๑๘ รูป ราชบัณฑิตอีก ๓๒ ท่าน เป็นคณะที่จะทำสังคายนาพระไตรปิฎก และได้มีพระราชดำรัสสั่งให้จัดวัดนิพพานาราม ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระศรีสรรเพชญดาราม (ปัจจุบัน คือ วัดมหาธาตุ อยู่ใกล้ๆ ท่าพระจันทร์) เป็นสถานที่ทำสังคายนา ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒ ปีวอก สัมฤทธิศก พุทธศักราช ๒๓๓๑ เวลาบ่าย ๓ นาฬิกา มีพระราชดำรัสสั่งให้อาราธนาพระสงฆ์การกะ มีสมเด็จพระสังฆราช (สี) เป็นประธาน ประชุมพร้อมกันในพระอุโบสถวัดพระศรีสรรเพชญดาราม พระสงฆ์เถรานุเถระทั้งปวงพร้อมด้วยราชบัณฑิตประชุมกันชำระสอบทานพระไตรปิฎก สิ้นเวลาถึง ๕ เดือน จึงเสร็จการสังคายนาสมพระราชประสงค์ นับเป็นครั้งที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชแห่งวัดบางหว้าใหญ่ได้เป็นประธานร่วมกิจพระศาสนาในครั้งนั้น #วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร#ชิณบัญชร#พระธรรมธีรราชมหามุนี#เที่ยง อคฺคฺธมโม#วัดระฆังโฆสิตารามวรวิหาร#สมเด็จพุฒจารย์โตหรหมรังสี#หลวงพ่อโต#บทสวดชินบัญชร